พระพุทธเจ้า สารคดีระดับโลกจาก BBC





บริษัท เอสทีจี มัลติมีเดีย โดย คุณจักรพงษ์ สุธีสถาพร กรรมการผู้จัดการ ภูมิใจนำเสนอ The Life of Buddha พระพุทธเจ้า ภาพยนตร์สารคดี ประวัติศาสตร์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลงานที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดจาก BBC ประเทศอังกฤษ ภาพยนตร์สารคดี The Life of Buddha พระพุทธเจ้า สุดยอดผลงานโปรดักชั่นที่สร้างปรากฏการณ์ใ­ห้คนทั้งโลก จากบีบีซี ประเทศอังกฤษ ด้วยอรรถมหาชีวประวัติแห่งพระพุทธเจ้าที่ย­ิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กับการสร้างสรรค์ให้เป็นอภิมหาภาพยนตร์เพื­่อตะลึงตาประทับใจคนทั้งโลก เรียบเรียงบทภาษาไทยโดยนักเขียน The Best Seller ของเมืองไทย ทันตแพทย์สม สุจีรา และให้เสียงภาษาไทยโดยนักแสดงชายระดับตำนา­นของเมืองไทย นิรุตติ์ ศิริจรรยา พร้อมหนังสือพุทธประวัติโดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) และบทความจาก 19 คนดัง ภายใต้หัวข้อ "วิชชาจากพระพุทธเจ้าที่ประทับในหัวใจ" อาทิ พระอาจารย์พยอม กัลยาโณ , พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก , แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต , ดร.เสรี วงษ์มณฑา , กรรณิกา ธรรมเกษร , ฐิตินาถ ณ พัทลุง , แทนคุณ จิตต์อิสระ , วนิษา เรซ , ชุติมางค์เดช ฯลฯ คุณจักรพงษ์ กล่าวว่า "ภาพยนตร์สารคดี The Life of Buddha พระพุทธเจ้า เป็นมุมมองของชาวต่างชาติที่สร้างความศรัท­ธาให้คนทั่วโลกได้ดู ถ้าคนไทยทั้งประเทศได้สัมผัสก็จะได้ทราบว่­าแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออะไร การตีความทุกอย่างให้คิดในแง่บวก ไม่ใช่การทำบุญเพื่อหวังผล


วันที่ 23 มิถุนายน


วันเกิด[แก้]

วันถึงแก่กรรม[แก้]

วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล[แก้]

  • วันชาติลักเซมเบิร์ก

เพลงวันชาติ 24 มิถุนายน


เพลง : เพลงวันชาติ 24 มิถุนายน

ยี่สิบสี่มิถุนายนมหาศรีสวัสดิ์
ปฐมฤกษ์ของรัฐธรรมนูญของไทย
เริ่มระบอบแบบอารยะประชาธิปไตย
ทั่วราษฎรไทยได้สิทธิเสรี
สำราญ สำเริง รื่นเริง เต็มที่
เพราะชาติเรามีเอกราชสมบูรณ์
ไทยจะคงเป็นไทย ด้วยร่วมใจเทิดไทย ชโย
ชาติประเทศเหมือนชีวา ราษฎร์ประชาเหมือนร่างกาย
ถ้าแม้ว่าชีวิตมลาย ร่างกายก็เป็นปฏิกูล
พวกเราต้องร่วมรัก พิทักษ์ไทยไพบูลย์
อีกรัฐธรรมนูญ คู่ประเทศของไทย
เสียกายเสียชนม์ ยอมทนเสียให้
เสียชาติประเทศไทย อย่ายอมให้เสียเลย
ไทยจะคงเป็นไทย ด้วยร่วมใจเทิดไทย ชโย

ภาพขียนสีในแดนอุษาคเนย์













ภาพขียนสีในแดนอุษาคเนย์ส่วนหนึ่งปรากฏภาพพิธีกรรมที่มีคนทำท่าคล้ายกบ ซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของผู้คนแถบนี้ เพราะถือว่าเป็นตัวบันดาลให้เกิดฝน (กบร้อง-ฝนตก) ภาพเหล่านี้ อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว พบในภาคอีสานบ้านเฮารวมถึงมณฑลกวางสีที่ ‘ผาลาย’ อันมีรูปคนจำนวนนับพัน ทำท่าเดียวกันคือยืนย่อเข่า ถ่างแข้งถ่างขาสองข้าง เหมือนท่ายักษ์ ท่าลิงในโรงโขนกรมศิลปากร

แม้แต่ภาพสลักบนปราสาทหินในกัมพูชาก็มีมีกองทหารนุ่งโจงกระเบนทำท่าเดินทัพ(หรือสวนสนาม)ตัดไม้ข่มนามก่อนออกรบล้วนตั้งเหลี่ยมอัดหน้าตรงไปในทิศทางเดียวกันเหมือนท่ากบ แค่นั้นยังไม่พอ ลองสังเกตท่าเซิ้งบั้งไฟกับท่ารำมวยโบราณทางอีสานก็มีลักษณะคล้ายท่ากบ จึงมีผู้สันนิษฐานอีกเช่นกันว่าได้มาจากท่ากบขอฝนที่เป็นท่าเต้นศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง — กับ

สารคดี JACK THE RIPPERสารคดี สงครามกรุงวอซอร์โปรแลนด์

สารคดี JACK THE RIPPERสารคดี สงครามกรุงวอซอร์โปรแลนด์

สารคดี สงครามเกาหลี 2


สารคดี สุดยอดเฮลิคอปเตอร์ อาปาเช่

สารคดี สุดยอดเฮลิคอปเตอร์ อาปาเช่

สารคดี สารคดี แม็กเลฟ รถไฟความเร็วสูง เซี่ยงไฮ้

สารคดี สารคดี แม็กเลฟ รถไฟความเร็วสูง เซี่ยงไฮ้ 

สารคดี MARINE MACHINES ตอน เรือรบล่องหน

เรือรบล่องหน

สารคดี ท่องโลกกว้าง ตอน มหาสมุทร

มหาสมุทร

โลกสามมิติ ตอน เวสต์ออสเตรเลีย

เวสต์ออสเตรเลีย

สารคดี ท่องเที่ยว 5/5ส่องโลกชีวิตแรด

ส่องโลกชีวิตแรด

สารคดี ท่องเที่ยว 4/5เฉินหลงตะลุยฮ่องกง

เฉินหลงตะลุยฮ่องกง

สารคดี ท่องเที่ยว 2/5


สารคดี ท่องเที่ยว 3/5ปราสาทผีสิงแห่งอังกฤษ


สารคดี ท่องเที่ยว 1/5สุดยอดสถานตากอากาศในอเมริกา





เผยแพร่เมื่อ 24 ม.ค. 2013
1.สุดยอดสถานตากอากาศในอเมริกา
2.สุดยอดรีสอร์ทแห่งแคริบเบียน
3.ออสเตรเลียแดนมหัศจรรย์
4.10 ปราสาทแห่งผู้ดีอังกฤษ
5.ปราสาทผีสิงแห่งอังกฤษ
6.แอลเอเมืองแห่งสวรรค์
7.เฉินหลงตะลุยฮ่องกง
8.ศาสตร์และศิลป์แห่งการป้องกันตัว
9.ส่องโลกชีวิตแรด

Figure of the heavenly bodies

ภาพ : Figure of the heavenly bodies ภาพแบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลขอโตเลมีโดย Bartolomeu Velho ใน ค.ศ. 1568 (Bibliotèque National, Paris)

ในทางดาราศาสตร์ แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล (Geocentric Model) คือแนวคิดเก่าแก่ที่ว่าเอกภพทั้งมวลโคจรไปรอบโลกของเราที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของจักรวาล เป็นแนวคิดที่มีกำเนิดมาแต่ยุคสมัยของกรีกโบราณ โดยมีนักปราชญ์ในยุคนั้นทั้งทอเลมีและอริสโตเติลให้การสนับสนุน นักปรัชญากรีกโบราณล้วนแต่เชื่อว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ตลอดจนดวงดาวต่างๆ ล้วนแต่เคลื่อนที่เป็นวงกลมไปรอบๆ โลก มีแนวคิดคล้ายๆ กันนี้ปรากฏในประเทศจีนเช่นกัน ความคิดและความเชื่อในแนวนี้ได้โยงไปถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้าซึ่งมีมาอย่างนานและความคิดแนวนี้ได้คร่าชีวิตนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาไปอย่างมากมาย

ยุทธการบาร์บารอสซ

22 มิถุนายน....ในอดีต


22 มิถุนายน พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) 

สงครามโลกครั้งที่สอง: ทหารฝ่ายอักษะและฟินแลนด์กว่า 4.5 ล้านนาย รุกรานสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดในโลก

ยุทธการบาร์บารอสซา (Operation Barbarossa) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12

วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอด

ปฏิบัติการบาร์บารอสซาเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ทั้งทางด้านกำลังพล พื้นที่ปฏิบัติการและความสูญเสียที่เกิดขึ้น ความล้มเหลวในยุทธการบาร์บารอสซาเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นสาเหตุโดยรวมที่ทำให้นาซีเยอรมนีต้องประสบกับความพ่ายแพ้ และเป็นจุดเปลี่ยนของนาซีเยอรมนีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จากการเปิดการโจมตีของนาซีทำให้เกิดการรบใหม่ขึ้นมาคือแนวรบด้านตะวันออก ซึ่งเป็นยุทธบริเวณที่ใหญ่ที่สุดในโลกตราบจนถึงปัจจุบัน ปฏิบัติการบาร์บารอสซากลายเป็นการรบครั้งยิ่งใหญ่ ความโหดร้าย การสูญเสียชีวิตปริมาณมหาศาล ซึ่งทั้งหมดได้ส่งอิทธิพลต่อสงครามโลกครั้งที่สอง และประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตลอดมา

วันมรณภาพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

22 มิถุนายน....ในอดีต


22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) 

วันมรณภาพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

จูดี การ์แลนด์ (Judy Garland)

22 มิถุนายน....ในอดีต

22 มิถุนายน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) 

วันถึงเเก่กรรมของ จูดี การ์แลนด์ นักแสดง/นักร้อง ชาวอเมริกัน

จูดี การ์แลนด์ (Judy Garland) เป็นนักแสดงหญิงชาวอเมริกัน ในช่วงยุคทองของหนังเพลง (Golden Era of musical film) รับบทเป็นโดโรธี ในเรื่อง เดอะวิซาร์ดออฟออซ (The Wizard of Oz) (1939) และร้องเพลงประกอบหนังเรื่องนี้ ชื่อ Over the Rainbow ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นดาราที่มีชื่อเสียงมาก นับแต่นั้นเป็นต้นมา

จูดี การ์แลนด์ เกิดที่เมือง แกรนด์แรพิดส์ ในรัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา และเสียชีวิตในเมืองเชลซี ในลอนดอน

22 มิถุนายน


22 มิถุนายน....ในอดีต

22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)

วันสิ้นชีพิตักษัยของ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งการเกษตรยุคใหม่

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา ทรงได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่

หม่อมเจ้าสิทธิพร เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ที่กรุงลอนดอน เริ่มรับราชการที่กระทรวงพระคลัง เมื่อ พ.ศ. 2444 ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมกษาปณ์ และอธิบดีกรมฝิ่น ทรงมีหม่อมท่านหนึ่งคือ หม่อมทิพ แต่ก็ถึงแก่กรรมในเวลาไม่นาน ต่อมา รัชกาลที่ 6 ทรงขอเจ้าศรีพรหมาให้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์อนุพร และหม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี

เมื่อ พ.ศ. 2464 ทรงลาออกจากราชการ เพื่อทรงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ณ บ้านบางเบิด อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หม่อมเจ้าสิทธิพร ได้ทรงบุกเบิกการเกษตรแผนใหม่ ณ ฟาร์มบางเบิด ทรงริเริ่มนำรถแทรกเตอร์มาใช้ในการเกษตรเป็นครั้งแรก ทรงเลี้ยงไก่พันธุ์เล็กฮอร์น สายพันธุ์ไข่ดก เป็นครั้งแรกที่บางเบิด ทรงสั่งพันธุ์แตงโมจากสหรัฐอเมริกา เพื่อปลูกจำหน่ายรู้จักกันทั่วไปในชื่อ แตงโมบางเบิด

หม่อมเจ้าสิทธิพร ทรงริเริ่มทดลองปลูกยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย ซึ่งบ่มด้วยความร้อนจนเป็นผลสำเร็จ ณ สถานีทดลองเกษตรแม่โจ้ ซึ่งต่อมากลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรทางภาคเหนือ

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ร่วมก่อการกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระเชษฐา ในกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ถูกตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิต คุมขังที่เรือนจำบางขวาง แล้วย้ายไปคุมขังที่ทัณฑนิคม เกาะตะรุเตา ก่อนย้ายมาเกาะเต่า ก่อนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2487

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2490 และ พ.ศ. 2491 ในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ทรงเป็นประธานคณะกรรมการข้าวระหว่างชาติ ในการประชุมเมื่อปี พ.ศ. 2492, 2493 และ 2495 ได้รับรางวัลแมกไซไซ ด้านบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. 2510

นอกจากนี้แล้ว ยังเคยเป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย ในตำแหน่งกองหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2458 ซึ่งถือว่าเป็นทีมชาติไทยชุดแรกด้วย

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514

22 มิถุนายน วันนี้ในอดีต

22 มิถุนายน....ในอดีต

22 มิถุนายน พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) 

สภาผู้แทนราษฎรแห่งแคนาดาลงมติยกเลิกโทษประหารชีวิต

โทษประหารหรือการประหารชีวิต (Capital punishment or the death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายในการที่คนที่มีชีวิตอยู่จะถูกทำให้ตายโดยรัฐเพื่อเป็นการลงโทษความผิดทางอาญา โทษประหารชีวิต คือ โทษสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติให้นักโทษที่ได้รับการพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มีผลต้องถูกทำให้เสียชีวิตตามกระบวนการยุติธรรม โดยบุคคลที่กระทำหน้าที่นี้เรียกว่า เพชฌฆาต พระราชกฤษฎีกาการพิจารณาคดีกับคนที่ถูกลงโทษในลักษณะนี้คือ การตัดสินประหารชีวิต (death sentence), ในขณะที่กระบวนการจริงของการประหารบุคคลนั้นคือ การสำเร็จโทษ (execution) อาชญากรรมที่จะส่งผลต่อการทำให้เกิดการประหารชีวิตนักโทษเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นอาชญากรรมเมืองหรือการกระทำความผิดเมือง คำศัพท์ capital มีต้นกำเนิดมาจากคำภาษาละตินว่าcapitalis ความหมายตามตัวอักษรคือ "ที่เกี่ยวข้องกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว)

โทษประหารนั้น ในอดีตที่ผ่านมาได้รับประสบการณ์มาจากสังคมส่วนใหญ่ (จากข้อกล่าวอ้างที่มีชื่อเสียงแห่งจักรวรรดิเคียฟรุส (Kievan Rus)

ในอดีต จะใช้วิธีประหารชีวิตที่ส่งผลให้ประชาชนเกิดความกลัว และไม่กล้าที่จะกระทำความผิด เช่น

- การตัดศีรษะ (beheading, decapitation)
- การฝังทั้งเป็น (buried alive)
- การโยนลงไปในหลุมงู (snake pit) หรือ ประหารโดยใช้สัตว์ป่า แมลง
- การผ่าท้อง (disembowelment) ตัวอย่างเช่น ฮาราคีรี
- การเผาทั้งเป็น (burning to death)
- นอกจากนี้ ยังมีวิธีประหารชีวิตเฉพาะชาติต่างๆ เช่น
- การหักหลัง (breaking back) ในชนชาติมองโกล
- การแล่เนื้อ (slow slicing) ในจีน
- การตรึงกางเขน (crucifixion) ในโรมันโบราณ
- โทษประหารแบบ drawing and quartering ในอังกฤษ โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ เป็นผู้ริเริ่ม
- โทษประหารแบบ Scaphism หรือ The Boats ในเปอร์เซีย เป็นต้น

ในปัจจุบัน โทษประหารชีวิตในหลายประเทศได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากเหตุผลทางมนุษยชน

แบงค์ 80 บาท


*แบงค์ 80 บาท* สวยจัง...น่ามีไว้ในครอบครอง !! ;)

*ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ* ชนิดราคา 80 บาท มีทั้งสิ้น จำนวน 2 ล้านฉบับ ! ซึ่งถือเป็นการออกธนบัตรชนิดราคา 80 บาท เป็นครั้งแรก !! โดยจะออกใช้ในวันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2555 ! โดยจ่ายแลกพร้อมแผ่นพับในราคาชุดละ 120 บาท !!! ;)

ทั้งนี้ ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ มีลักษณะพิเศษ คือ ความกว้าง 80 มิลลิเมตร หมายถึงพระชนมพรรษา 80 พรรษา สีของธนบัตรโดยรวมเป็นสีฟ้าตามสีวันพระราชสมภพ ภาพด้านหน้าธนบัตร เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันคู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเป็นภาพประธาน มีลายน้ำอักษรพระนามาภิไธย "ส.ก." ภายใต้พระมหามงกุฎ โดยอักษร "ก" มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่า

ส่วนภาพด้านหลังธนบัตร เชิญพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นภาพประธาน โดยมีภาพพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ เป็นภาพประกอบ ในเนื้อกระดาษฝังแถบสีฟ้าซ่อนไว้ตามด้านกว้างของธนบัตร โดยมีบางส่วนปรากฏให้เห็นเป็นระยะที่ด้านหลังธนบัตร ภายในแถบสีฟ้ามีตัวเลขอารบิก 80 ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นรูปดอกกุหลาบเมื่อพลิกธนบัตรไปมา !!! :)

ชีวประวัติหม่อมราชวงเสนีย์ ปราโมช



ชีวประวัตินายกทวี บุณยเกตุ


ชีวประวัตินายกควง อภัยวงศ์1


ชีวประวัติจอมพลแปลก พิบูลสงคราม1



ปรีดีย์ พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส 3/3


ปรีดีย์ พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส 2/3


ปรีดีย์ พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส 1/3


สารคดีบุคคลสำคัญอาเซียน ตอน ลาววัฒนา


สารคดีบุคคลสำคัญอาเซียน ตอน ลาววัฒนา

ดร. โก๊ะเค็งซวี


“ชาวสิงคโปร์เชื่อการทำงานหนัก เชื่อในการค้าเสรี เชื่อว่าเราจะปรับตัวได้ เชื่อในการคว้าโอกาสสุดท้ายเชื่อมั่นในตัวเอง นี่คือคุณภาพประชากรที่จะช่วยเปลี่ยนเกาะเล็กๆ ที่มีแต่บึงเฉอะแฉะไปสู่เมืองหลวงที่เฟื่องฟู”

ดร. โก๊ะเค็งซวี
สุนทรพจน์ที่กล่าวในโอกาสเยือนหอการค้าจีน ปี ๒๕๑๒/๑๙๖๙

วันประกาศเอกราช๙ สิงหาคม ๒๕๐๘/๑๙๖๕
ชื่อทางการสาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
เมืองหลวงสิงคโปร์
ระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
ประชากร๕,๐๗๖,๗๐๐ คน (กรกฎาคม ๒๕๕๕/๒๐๑๒, CIA World Factbook)
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ จีนกลาง มลายู ทมิฬ

ดร. โก๊ะเค็งซวี เกิดเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๔๖๑/๑๙๑๘ ที่รัฐมะละกา (ภายใต้การปกครองของอังกฤษ)  ครอบครัวของเขาเป็นชาวเปอรานากัน (ลูกผสมจีน-มลายู)  เขาย้ายตามครอบครัวมาอยู่สิงคโปร์ตอนอายุได้ ๒ ขวบ เข้าเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนอังกฤษ-จีน (Anglo-Chinese School) และศึกษาต่อที่วิทยาลัยแรฟเฟิลส์ (Raffles College) จนจบเมื่อปี ๒๔๘๒/๑๙๓๙ จากนั้นรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการสังคมของรัฐบาลอาณานิคมสิงคโปร์
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เขากลับเข้ารับราชการตามเดิม ก่อนได้ทุนไปศึกษาต่อด้านเศรษฐศาสตร์ที่ London School of Economics (LSE) ในปี ๒๔๙๐/๑๙๔๗  ขณะอยู่ในลอนดอน เขาร่วมกับนักเรียนทุนสิงคโปร์ที่มีแนวคิดต่อต้านอาณานิคม เช่น ลีกวนยู ก่อตั้ง Malayan Forum เพื่อถกเถียงปัญหาทางการเมืองของอาณานิคม โดยเขารับเป็นประธานกลุ่มคนแรก
เขาจบจาก LSE ด้วยเกียรตินิยมอันดับ ๑ ได้รับรางวัล William Farr Prize แล้วกลับมารับราชการช่วงสั้น ๆ ก่อนได้ทุนกลับไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่ LSE อีกครั้งในสาขาเดิม จนจบในปี ๒๔๙๙/๑๙๕๖
โก๊ะเริ่มเข้าสู่วงการการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับพรรคกิจประชา (PAP) ของลีกวนยู  เส้นทางการเมืองของเขาหลังจากนั้นคือการดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี ๒๕๐๒/๑๙๕๙ ซึ่งเขาวางนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อสร้างงานในประเทศ พลิกเขตจูร่ง(Jurong) จากพื้นที่ชื้นแฉะให้กลายเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ริเริ่มก่อตั้งคณะกรรมการ Economic Development Board (EDB) ในปี ๒๕๐๔/๑๙๖๑ เพื่อออกมาตรการดึงดูดนักลงทุน  หลังสิงคโปร์แยกตัวจากมาเลเซียเป็นเอกราชในปี ๒๕๐๘/๑๙๖๕ โก๊ะผลักดันให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลกเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ
อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญคือการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของสิงคโปร์  ในช่วงที่ได้รับเอกราชใหม่ ๆ  โก๊ะเร่งสถาปนากองทัพสิงคโปร์ท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรและกำลังคนด้วยการสร้างกลุ่มนายทหารที่จะเป็นกำลังหลักโดยมีกำลังเสริมเป็นอาสาสมัคร ๓,๐๐๐ นาย  ต่อมาในปี ๒๕๑๐/๑๙๖๗ จึงเริ่มใช้ระบบเกณฑ์ทหาร  โดยผู้ชายสิงคโปร์ทุกคนที่อายุครบ ๑๘ ปีจะต้องเข้ารับการฝึกวิชาทหาร ร้อยละ ๑๐ จะถูกคัดเลือกเข้าประจำการ  เมื่อครบกำหนดก็จะปลดประจำการและถูกทดแทนด้วยกำลังสำรองรุ่นใหม่
โก๊ะยังมีผลงานสำคัญขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปี ๒๕๒๒/๑๙๗๙ โดยก่อตั้งสถาบันพัฒนาหลักสูตรการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัดและความสามารถของตนเอง ซึ่งนโยบายนี้ช่วยลดจำนวนนักเรียนที่ลาออกจากโรงเรียนกลางคัน
ทั้งนี้นอกจากงานใน ๒ กระทรวงสำคัญ เขายังดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการของรัฐบาลอีกหลายชุดและเป็นที่ปรึกษาขององค์กรเอกชนขนาดใหญ่หลายแห่ง
หลังจากตรวจพบมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะในเดือนกันยายน ๒๕๒๖/๑๙๘๓ เขาลาออกจากทุกตำแหน่งทาง
การเมืองในเดือนธันวาคมปีต่อมา แต่ยังดำรงตำแหน่งในองค์กรเอกชน  อย่างไรก็ตามอาการที่ทรุดลงเรื่อย ๆ ทำให้เขาต้องนอนพักรักษาตัวมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓/๒๐๐๐ จนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓/๒๐๑๐
โก๊ะได้รับการยกย่องเป็น “สถาปนิกเศรษฐกิจ” ของสิงคโปร์  ในปี ๒๕๑๕/๑๙๗๒ เขาได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ได้รับอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสิงคโปร์คือ Order of Temasek เมื่อปี ๒๕๒๘/๑๙๘๕ ในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาประเทศ กลุ่มธุรกิจและมหาวิทยาลัยแห่งชาติยังตั้งกองทุนและมอบทุนการศึกษาในชื่อของเขาเพื่อเป็นเกียรติมาจนถึงทุกวันนี้
ล่าสุดในปี ๒๕๕๑/๒๐๐๘ ปัวซวีเหลียง (Pua Swee Liang) ภรรยาของเขาก่อตั้งมูลนิธิโก๊ะเค็งซวีขึ้น เพื่อรักษาเรื่องราวและเผยแพร่แนวคิดของโก๊ะต่อสาธารณชน

ผู้เลือก :  เอ็ดการ์ เหลียว (Edgar Liao)
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ วัย ๓๒ ปี
ผมเลือก โก๊ะเค็งซวี (Goh Keng Swee) ด้วยเหตุผลคือ หนึ่ง ลีกวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์กล่าวสรรเสริญโก๊ะไว้ว่า นี่คือชายที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจแยกสิงคโปร์จากมาเลเซียในปี ๒๕๐๘/๑๙๖๕ ประการแรกโก๊ะคิดว่าการปกครองตนเองคือทางที่ดีที่สุดในการเผชิญปัญหาที่ถาโถมเข้าใส่ มากกว่าจะคงเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย  ประการต่อมา ในรัฐบาลสิงคโปร์หลังประกาศเอกราช โก๊ะมีบทบาทสำคัญในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้วางรากฐานเศรษฐกิจและสังคมสิงคโปร์ในแบบที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
“นโยบายที่ส่งผลมากคือการเกณฑ์ทหาร การปฏิรูประบบการศึกษาและพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบเกณฑ์ทหารทำให้หลากหลายเชื้อชาติมาหลอมรวมกัน เกิดความรักชาติ สร้างความมั่นคงให้เกาะเล็ก ๆ ในสายตานักลงทุนต่างประเทศ สนับสนุนให้สอน ๒ ภาษาในโรงเรียนตั้งแต่ปี ๒๕๒๒/๑๙๗๙ เปิดเขตเศรษฐกิจจูร่งในปี ๒๕๐๔/๑๙๖๑ กระทั่งบทบาททางวัฒนธรรม เขาคือผู้ก่อตั้งวงสิงคโปร์ ซิมโฟนี ออร์เคสตรา และสวนสัตว์สิงคโปร์
“ผมรู้จักโก๊ะจากหนังสือเรียนชั้นมัธยม ชื่อของเขาถูกพูดถึงบ่อยรองจาก ลีกวนยู  ผมมารู้จักเขามากขึ้นสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ทุกวันนี้ในสิงคโปร์เราคุยเรื่องกลุ่มผู้ก่อตั้งประเทศมากขึ้น จากเดิมที่เน้นที่ ลีกวนยู คนเดียว  สมัยก่อนโก๊ะเป็นที่รู้จัก แต่ก็ไม่มากเท่าปัจจุบัน เพราะหลังเขาเสียชีวิตในปี ๒๕๕๓/๒๐๑๐ เริ่มมีบทความที่เกี่ยวข้อง มีหนังสือ ๒ เล่มตีพิมพ์ออกมาในปีเดียวกัน มีการศึกษาชีวิตโก๊ะและผู้ก่อตั้งสิงคโปร์คนอื่น ๆ  คนสิงคโปร์หลายคนดีใจที่มีเรื่องราวผู้ก่อตั้งประเทศคนอื่นนอกจาก ลีกวนยู
“สิงคโปร์เป็นประเทศอายุน้อย เราเพิ่งเขียนประวัติศาสตร์ใช้ในโรงเรียนจริงจังเมื่อปี ๒๕๔๐/๑๙๙๗  ก่อนหน้านี้เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์แห่งชาติ เมื่อเขียนก็ไม่ได้เพ่งเล็งที่ผู้นำทางการเมือง แต่ยุคหลัง ๆ เมื่อมีรัฐมนตรีในยุคสร้างชาติเสียชีวิต  เรื่องของเขาจะได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน  เอาเข้าจริงผมคิดว่าสิงคโปร์อาจไม่ต้องการบุคคลสำคัญ เพราะแต่ละคนต่างมีอยู่ในใจแล้ว”

- See more at: http://www.sarakadee.com/2013/04/09/goh-keng-swee/#sthash.DrirzYN5.dpuf

สารคดี

สารคดี